วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ยื่นจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่


ด้าน กระบวนการปลูกข้าวก็มีขั้นตอนต่าง ๆ อีกมากมาย ทั้งยังมีปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตต่อไร่ตกต่ำอยู่ด้วยกันอีกหลายประการ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นแก่ชาวนาทั้งสิ้น !!

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มีความตั้งใจที่จะหาพันธุ์พืชที่สามารถสร้างอนาคตให้กับชาวนาผู้ประสบ อุทกภัยเหล่านั้น จนมาพบว่า มีพันธุ์ข้าวที่พัฒนาและขึ้นทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่โดยคนไทยอย่างน้อย พันธุ์หนึ่งที่ตรงกับพระประสงค์ โดยพันธุ์ข้าวนี้มีชื่อว่าพันธุ์ ไรซ์ เบอร์รี่ (Rice Berry)

ข้าวพันธุ์
ไรซ์เบอร์รี่ ได้ปรับปรุงพันธุ์จากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว โดยได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ยื่นจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่

โดย รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 จากนั้นได้ทำการศึกษาเพาะปลูก จนสามารถส่งเสริมให้เกิดการเพาะปลูกได้อย่างกว้างขวาง

พันธุ์
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาว ดอกมะลิ105 จึงไม่เป็นสีดำ แต่มีลักษณะเป็นสีแดงแบบลูกเบอร์รี่ (ลูกหม่อน) ที่สุกแล้ว รูปร่างเมล็ดเรียวยาว เมื่อหุงเป็นข้าวเจ้าจะมีลักษณะเป็นสีม่วงเข้ม มีความนุ่มนวลแต่ยืดหยุ่น รสชาติอมหวาน มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

หากนำมาหุงก็ไม่ยาก สามารถปรับปริมาณการใส่น้ำได้ตามความชอบว่าจะรับประทานแบบใด หรือจะทำเป็นข้าวต้มก็ได้ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ต้านทานโรคไหม้ดีมาก อีกทั้งทนทานต่อสภาพธาตุเหล็กเป็นพิษในดินได้อีกด้วย

จากการศึกษาพบว่า ข้าวยิ่งมีสีม่วงเข้มมากประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระจะยิ่งมีมากขึ้นโดย มีค่าอยู่ระหว่าง 35.3-214.7 umole/g จากการศึกษาด้วยวิธี ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity)โดยเฉพาะในรำข้าวเจ้าหอมนิลและรำข้าวไรซ์ เบอร์รี่ มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงถึง 229-304.7 umole/g และเมื่อนำข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกับน้ำผลไม้พร้อมดื่มหรือน้ำชาเขียว พบว่า มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเกือบ 100 เท่า

สำหรับกระบวนการหุงต้มข้าวที่มีสีม่วงเข้มด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า พบว่า มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระลดลงประมาณร้อยละ 50 หรือลดประสิทธิภาพลงประมาณครึ่งหนึ่งของข้าวดิบ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแล้วข้าวสีม่วงก็ยังมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำผลไม้ พร้อมดื่มหรือน้ำดื่มชาเขียวที่ขายตามท้องตลาด โดยข้าวยิ่งสีเมล็ดมีความเข้มเท่าไรยิ่งทำให้มีผลในการต้านอนุมูลอิสระได้ สูงขึ้นเท่านั้น

จากงานวิจัยดังกล่าวพบว่า ข้าว
พันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ เมื่อหุงสุกแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระเหลืออยู่ ไม่ได้ถูกความร้อนทำลายหมด จึงเป็นแหล่งอาหารที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง การที่ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระพอเพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็งได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณสมบัติด้าน
โภชนาการของข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่ผู้บริโภคได้รับ คือ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงในเมล็ดข้าว ได้แก่ เบต้าแคโรทีน,แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, แทนนิน, สังกะสี, โฟเลตสูง, มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง ในส่วนของรำข้าวและน้ำมันรำข้าว ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีเหมาะสำหรับใช้ทำผลิต ภัณฑ์อาหารเชิงบำบัดอีกด้วย

หญิงมีครรภ์เมื่อบริโภคจะได้ประ โยชน์ โดยเฉพาะบุตรในครรภ์ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติ เนื่องจาก ข้าวชนิดนี้มีสารโฟเลตสามารถป้องกันโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งทำให้บุตรเสียอนาคตได้ รวมทั้งมีน้ำตาลต่ำ จะช่วยให้มารดาควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่เกิดครรภ์เป็นพิษ และมีธาตุเหล็กสูงซึ่งหญิงมีครรภ์ต้องการมากกว่าคนปกติ

สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนเป็นโรคอ้วน ถ้าปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานจะมีโรคแทรกได้ง่าย สูญเสียโอกาสต่าง ๆ และชีวิตจะสั้นขึ้น แต่ด้วยคุณสมบัติของ
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่มีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวทั่วไป หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนเปลี่ยนจากการรับประทานข้าวทั่วไปมารับ ประทานข้าวไรซ์ เบอร์รี่ ก็จะช่วยในการควบคุมน้ำตาลและคุมน้ำหนักได้ ส่วนผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หากรับประทานข้าวไรซ์ เบอร์รี่ เป็นประจำก็จะได้สารอาหาร โดยเฉพาะธาตุเหล็กธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยในการบำรุงโลหิตและบำรุงร่างกาย

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปลูกและจำหน่ายข้าวไรซ์ เบอร์รี่ แบบเกษตรอินทรีย์ อีกทั้งยังมีการสีข้าวแบบข้าวกล้องจากโรงสีข้าวที่ได้รับการรับรองเกษตร อินทรีย์เป็นข้าวกล้อง ซึ่งเรียกข้าวนี้ว่าข้าวไรซ์ เบอร์รี่ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ขึ้น

โดยมีจำหน่ายบรรจุในถุงสุญญากาศชนิดย่อยสลายง่ายถุงละ 1 กิโลกรัม ราคาถุงละ 150 บาท แต่ ระหว่างวันนี้ถึงสิ้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนของผู้สูงอายุ จะจำหน่ายในราคาพิเศษเพียงกิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งเป็นราคาสมาชิก ผู้ที่สนใจสามารถช่วยสนับสนุนข้าวไรซ์ เบอร์รี่ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ได้ตามจุดจำหน่ายร้านผลพลอยพอเพียงเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ธ.ก.ส. สาขาอำเภอทุกจังหวัด ที่เดอะมอลล์ทุกสาขา และที่บิ๊กซี สาขาราชดำริ

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) นอกจากจะช่วยสร้างอนาคตให้กับชาวนาผู้ประสบเคราะห์กรรมจากอุทกภัยแล้วยัง เป็นข้าวแห่งอนาคตของผู้บริโภคที่มีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพหลายประการอีก ด้วย.

ทีมวาไรตี้
ที่มา : 
www.dailynews.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น