วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

สมัครตัวแทนร้านค้าทุกระดับร่วมงานขายข้าวสารอินทรีย์

สนใจจำหน่ายข้าวสารอินทรีย์ล้วน100%กระบวนการผลิต GMPรองรับ AEC
เข้าชมสินค้า: www.organicricesingburi.blogspot.com
คุณรู้หรือไม่ว่า ปี 2556 ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 65 ล้านคน* ทุกวันคนไทยบริโภคข้าวเฉลี่ยคนละประมาณ 6 ขีด หมายความว่าคนไทยทั้งประเทศบริโภคข้าว 21.4 ล้านกิโลกรัมต่อวัน จะเห็นได้ว่าข้าวเป็นสินค้าที่คนมีความต้องการซื้อและจำเป็นต้องซื้อสูงจริงๆ

ขายข้าวดีกว่าขายสินค้าอื่นอย่างไรมีคำตอบ นอกจากข้าวจะเป็นสินค้าจำเป็นที่คนไทยบริโภคสูงแล้ว ข้าวยังเป็นสินค้าที่ไม่เน่า ไม่เสีย เก็บไว้ได้นานบริโภคแล้วหมดไป ซื้อแล้วต้องซื้อซ้ำอีก แล้วคนไทยทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจน อย่างไรก็ต้องทานข้าว ทานตั้งแต่เกิดจนตาย กับข้าวในจานเหลือได้แต่ข้าวห้ามเหลือ แล้วยิ่งช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี คนรัดเข็มขัดกันมากขึ้น คนจะยิ่งบริโภคข้าวกันมากขึ้นด้วย เพราะข้าวทานแล้วอิ่มท้อง ทานบ่ายก็อิ่มไปถึงเย็น 

ผลตอบแทนจากการขายข้าว ร้านขายปลีกโดยทั่วไปผลตอบแทนจะอยู่ที่ประมาณ 15%-25% แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการขาย การตั้งราคา คู่แข่ง จำนวนร้านค้าที่มีอยู่ในละแวกนั้นด้วย แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ผู้ขายต้องมีต้นทุนที่ต่ำเสียก่อน การมีต้นทุนที่ต่ำในที่นี่หมายความว่า ลูกค้าซื้อข้าวสารในคุณภาพที่ดี สมเหตุสมผล 
ลงทุน ไม่ยากเพียงมีเงินทุนประมาณหลักพันเพื่อซื้อข้าวสาร กิโลชั่ง ถุงพลาสติกใส่ข้าว สถานที่ที่จะขายข้าว ซึ่งอาจเป็นบ้านที่เปิดหน้าร้านขายของได้ ค่าเช่าก็ไม่เสีย เพียงแค่นี้ก็สามารถเริ่มธุรกิจขายข้าวสารหารายได้เข้าบ้านได้แล้ว 
 ไม่มีประสบการณ์ ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ง่ายมากเลย...ปรึกษาเราได้ที่...ป.เคมีภัณฑ์ข้าวอินทรีย์100%www.organicricesingburi.blogspot.com  เรามีพนักงานคอยให้คำแนะนำ ตอบปัญหาข้อสงสัยในการขายข้าวสาร เราขายสินค้าราคาย่อมเยาว์ได้มาตรฐาน ซื้อกี่ครั้งก็คุณภาพเหมือนเดิม มาที่เดียวก็ซื้อสินค้าได้ครบ เพราะเรามีสินค้ามากมายกว่า 5รายการ อีกทั้งเรายังตั้งอยู่บนทำเลที่สะดวก ที่จอดรถสะดวกสบาย


คำถามที่ถูกถามบ่อย Frequently Asked Questions

1. ไม่เคยขายข้าวสารมาก่อน ไม่รู้เรื่องเลย แล้วจะทำได้ไหม

 คอนเฟริ์มว่าทำได้แน่นอนค่ะ ถ้าคุณมีความตั้งใจจริงไม่ย่อท้อที่จะหาความรู้และหาลูกค้า เพราะการขายข้าวสารก็ไม่ต่างอะไรไปจากตอนที่เราเป็นเด็กหัดเขียนหนังสือ แรกๆก็ทำไม่ได้ เขียนไปเขียนมาเรื่อยๆก็เขียนเป็นเอง



2. แล้วจะเริ่มอย่างไรดีล่ะ
สิ่งที่ต้องทำเริ่มแรกคือการหาข้อมูลเกี่ยวกับข้าวสาร ศึกษาวิธีการขายที่ดี วิธีหาลูกค้าใหม่และการรักษาฐานลูกค้า (ซึ่งมีอยู่แล้วด้านล่าง)  ถ้าอ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจ แนะนำให้เข้ามาปรึกษากันที่www.organicricesingburi.blogspot.comเพราะคุณจะได้เห็นตัวอย่างข้าวสาร ใบราคาข้าวสาร และมีผู้มีประสบการณ์ในการขายข้าวสารคอยให้คำแนะนำและตอบข้อสงสัยท่านได้  

3. ทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านขายข้าวสาร

  ทำเลที่ตั้งถ้าให้ดีควรจะตั้งอยู่ในที่ที่เป็นชุมชน มีคนเดิน แต่ทั้งนี้หากท่านมีบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านที่สามารถขายของได้ก็ใช้ได้เหมือนกันซึ่งลักษณะนี้ท่านก็ไม่ต้องเสียค่าเช่า สิ่งที่ท่านต้องคำนึงถึงมากมากก็คือจำนวนคนที่อาศัยในละแวกนั้น ซึ่งก็คือจำนวนลูกค้าของท่านนั่นเอง และจำนวนคู่แข่งว่าแถวนั้นมีมากน้อยเพียงใด


4. ต้องมีเงินลงทุนเท่าไหร่ 

มีทุนน้อยขายข้าวสารได้หรือเปล่า มีทุนน้อยก็ขายข้าวสารได้ คอนเฟริ์มค่ะ จริงๆแล้วการขายข้าวสารนั้นขายได้หลายวิธีมากๆ เริ่มแรกนั้นหากท่านยังเกิดความไม่แน่ใจ ท่านก็ไม่มีความจำเป็นต้องเช่าหน้าร้านเพื่อเปิดร้านก็ได้ ท่านสามารถเดินสอบถามพ่อค้า แม่ค้า โรงเรียน โรงแรม โรงอาหาร ที่ไหนก็ได้ที่มีคนทานข้าว ดูว่าเขาใช้ข้าวลักษณะไหน แล้วทำการเสนอราคา ถ้าของถูกกว่า ดีกว่าเป็นใครก็ต้องเปลี่ยนใจ ท่านอาจซื้อข้าวสารไปอย่างละถุง ซึ่งราคาก็ตามแต่ข้าวสารที่ท่านเลือก อย่างนี้ท่านก็ลงทุนแค่หลักพันเท่านั้น ขอยกตัวอย่างลูกค้าคนหนึ่งของโกดังนะคะ เขาเดินเข้ามาในโกดังแบบไม่รู้เรื่องราว สอบถาม แล้วซื้อข้าวสารไป 2 ถุง แล้วนำไปลองเสนอพ่อค้าที่ขายข้าวแกงที่อยู่ในตลาด หลังจากนั้นเขาก็กลับมาซื้อข้าวกับทางโกดังอีกเรื่อยๆ จากวันแรกซื้อ2 ถุง ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ซื้อข้าวสารไปส่งลูกค้าวันละ 30 ถุงแล้วค่ะ เห็นไหมคะไม่ต้องใช้ทุนเยอะ ขอแค่ใจที่พร้อมจะทุ่มเท และความขยันขันแข็งเท่านั้นเอง 

5. กำไรเท่าไหร่

โดยปกติถ้าท่านตักข้าวสารขายหน้าร้านจะกำไรอยู่ที่กิโลละ5-8 บาท ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดข้าวและคู่แข่งของท่านด้วย ส่วนหากท่านขายเป็นถุงโดยนำข้าวสารไปส่งให้ถึงร้านลูกค้า ท่านก็อาจจะกำไรประมาณ 500-1500(จากยอดขาย) อาจมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับชนิดข้าวและคู่แข่งของท่านค่ะ 

6. หาลูกค้าอย่างไรดี

เป็นโชคดีของเราที่คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก เพราะฉะนั้นลูกค้าของคุณก็คือคนทุกคนทีกินข้าว ในการขายข้าวสารท่านอาจเลือกที่จะเปิดร้านขาย หรือ วิ่งหาลูกค้าแล้วส่งตามที่เขาสั่ง หรือจะทำทั้งสองอย่างก็ได้ ในกรณีเปิดร้านขาย ท่านก็ต้องพยายามโปรโมทร้านค้าของท่านโดยการติดป้าย หรือบอกคนรู้จัก เพื่อนบ้าน ในละแวกบ้านหรือละแวกร้านของท่านให้ทราบ ให้เกิดการบอกต่อ ท่านอาจจะวิ่งหาออเดอร์เองตามบ้าน มีบริการส่งสินค้าสั่งขั้นต่ำ1 ถัง ส่งฟรี หรือในกรณีที่สองคือการวิ่งหาลูกค้าแล้วค่อยส่ง ท่านสามารถเข้าไปสอบถามพ่อค้า แม่ค้า โรงเรียนโรงแรม โรงอาหาร เอาตัวอย่างข้าวไปเสนอ ทำใบเสนอราคา แล้วพอลูกค้าสั่งก็นำไปส่ง วิธีนี้หากท่านต้องค่อยๆสะสมฐานลูกค้า ณ วันที่ท่านมีฐานลูกค้ามากก็สบายแล้วค่ะ     

7. มีเทคนิคหรือวิธีการอย่างไรบ้างในการดึงดูดลูกค้า 

ในเรื่องนี้มีอยู่หลายปัจจัยด้วยกันที่จะสามารถดึงลูกค้าเข้าร้านท่านได้ เช่นว่า หลังจากท่านเปิดร้านแล้วท่านอาจจะต้องติดป้ายหรือบอกคนรู้จัก เพื่อนบ้าน ในละแวกบ้านหรือละแวกร้านของท่านให้ทราบ ให้เกิดการบอกต่อ และการที่ร้านของท่านจะสามารถดึงดูดลูกค้าได้นั้น ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมาก ร้านที่โปร่ง โล่ง จัดวางสินค้าอย่างเป็นระเบียบ จะแลดูสะอาดกว่าร้านที่วางสินค้าหลายๆอย่างและจัดไม่เป็นสัดส่วน ให้ท่านลองนึกภาพร้านโชห่วยสมัยก่อนดู จริงๆแล้วร้านทุกร้านจำเป็นจะต้องทำให้ดูดี ไม่ว่าท่านจะขายไก่ย่าง ส้มตำ ขายก๋วยเตี๋ยว ขายน้ำ ถึงแม้ว่าสินค้าจะเหมือนกัน แต่ร้านที่ดูสะอาดและเป็นระเบียบกว่ามักจะขายได้ดีกว่า เพราะจะทำให้ลูกค้ามั่นใจในตัวสินค้า อย่างต่อมาคือความหลากหลายของสินค้า หากร้านของท่านมีทั้ง ข้าวหอมเก่า หอมใหม่ ข้าวเหนียว ข้าวขาว ข้าวเพื่อสุขภาพ สินค้าของท่านมีความหลากหลายทางราคา ลูกค้ามาหาซื้อสินค้าลักษณะไหนท่านก็มี คราวหน้าเขาก็จะกลับมาซื้อใหม่ สิ่งที่สำคัญต่อมาคือ ใจที่รักการบริการ สนใจในความต้องการของลูกค้าและจงอย่าลืมว่าน้ำเสียงที่ไพเราะและรอยยิ้มที่จริงใจเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้นะคะ 

8. ปัญหาในการขายข้าวสาร

ปัญหาของการขายข้าวสารที่เกิดขึ้นนั้น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าข้าวสารเป็นสินค้าเกษตร ผลผลิตออกกันปีละครั้งหรืออาจจะ 2 ครั้งต่อปีหากเป็นข้าวนาปรัง เพราะฉะนั้นในบางครั้งในช่วงระหว่างรอยต่อของปีหรือฤดูกาลจะเป็นช่วงเวลาที่ข้าวเปลี่ยนแปลงคือมีทั้งข้าวเก่าและข้าวใหม่ ข้าวสารตัวที่เคยซื้อก็อาจจะไม่เหมือนเดิมหมุนเวียนตามฤดูกาล อย่างไรก็ตามทางโกดังได้มีระบบจัดการกับปัญหานี้โดยการสต็อคข้าวสารเอาไว้ในปริมาณที่มากพอที่จะทำให้เราผลิตข้าวสารได้ทั้งปี รวมทั้งเรามีโรงงานผลิตข้าวสารซึ่งเป็นของเราเอง ทำให้เราไม่ต้องพึ่งพาซัพพลายเออร์ที่ไหน ซึ่งจะทำให้ข้าวสารที่ท่านซื้อไป ซื้อถุงแรกเป็นอย่างไรถุงต่อไปก็เป็นอย่างนั้น เราผลิตแต่ข้าวอินทรีย์ล้วนๆเพื่อกลุ่มลูกค้ารักสุขภาพ เพราะสิ่งนี้ต้องใช้ทั้งคนที่มีประสบการณ์ (เราอยู่ในวงการนี้มากว่า 5 ปี) มีโรงงานผลิตที่ทันสมัย ใช้เงินทุนสูง มีการจัดการที่ดี และที่สำคัญคือความจริงใจที่เรามีต่อลูกค้า จริงใจ ไม่ปลอม ไม่หลอกลวง

9. ข้าวสารแต่ละชนิดมีตั้งหลายราคา หลายเกรด แล้วแต่ละเกรดแตกต่างกันอย่างไร

ข้าวสารแต่ละชนิดมีหลายเกรดค่ะ แต่ละเกรดหากจะให้บอกอย่างคร่าวๆว่าแตกต่างกันอย่างไร มันก็ต่างกันตรงที่ความขาว ความสวย ความเคี่ยว ความนุ่ม ความหอม เปอร์เซ็นต์ของเมล็ดข้าว เยอะใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นขอเป็นแนะนำว่าหากท่านมีเวลาหรือมีโอกาสแวะเข้ามาเยี่ยมชมเราที่สาขา ขอแนะนำว่าเป็นสาขาใหญ่เกษตร-นวมินทร์นะคะ ท่านจะได้เห็นตัวอย่างข้าว ใบราคา พร้อมทั้งมีคนแนะนำให้ท่านแบบไม่มีหมกเม็ดและไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆค่ะ 

10. อยากรู้เรื่องข้าวสาร ข้าวสารมีกี่แบบ และแตกต่างกันอย่างไรบ้าง 

ผู้ขายข้าวสารปลีกจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับข้าวสารซึ่งเป็นตัวสินค้าของท่านด้วย ซึ่งในที่นี้ขอแบ่งหมวดหมู่ออกเป็นดังนี้ 

ชนิดของข้าวสาร จริงๆแล้วประเภท หรือ ชนิดของข้าวสาร หากแบ่งแยกชนิดอย่างเป็นทางการโดยอ้างอิงจากมูลนิธิข้าวไทย สามารถแบ่งชนิดของข้าวได้ คือ แบ่งตามประเภทของเนื้อแข็งในข้าว (ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว) แบ่งตามสภาพพื้นที่เพาะปลูก แบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยว แบ่งตามความไวต่อช่วงแสง แบ่งตามรูปร่างของเม็ดข้าว แบ่งตามฤดูเพาะปลูกข้าว (นาปี หรือ นาปรัง) ในที่นี้จะขอแบ่งเพื่อความเข้าใจง่ายต่อผู้เริ่มขายข้าวสารซึ่งสามารถแบ่งชนิดของข้าวออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว ข้าวเหนียว และข้าวเพื่อสุขภาพ 
- ข้าวหอมมะลิ  มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย พันธุ์ที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ พันธุ์กข.15 แต่ในปัจจุบันจะมีข้าวอีกชนิดที่คนทั่วไปเรียกว่าข้าวหอมปทุมธานี ข้าวหอมปทุมธานีจะมีความหอมคล้ายข้าวหอมมะลิแต่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ ซึ่งที่ขายตามท้องตลาดจะมีราคาต่ำกว่าข้าวหอมมะลิแท้ ปัจจุบันทางรัฐบาลส่งเสริมให้ชาวนาเน้นการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานีมากกว่า เพราะข้าวพันธุ์ปทุมธานีให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 และสามารถปลูกได้หลายครั้งต่อปี 

-ข้าวเหนียว พื้นที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ดีส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพันธุ์ข้าวเหนียวที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายคือ พันธุ์ กข. 6 นอกเหนือจากนี้แล้วก็ยังมีพันธุ์ กข.10 พันธุ์ กข.4 พันธุ์สันป่าตองที่นิยมปลูก  แต่ราคาที่ขายจะต่ำกว่าพันธุ์ กข.6 เพราะความสวย และความหอม ความอร่อยต่างกัน 

-ข้าวขาว ข้าวขาวที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปมีหลายพันธุ์ เช่น ข้าวเสาไห้สระบุรี ข้าวกอเดียว ข้าวเหลืองอ่อน ข้าวเหลืองประทิว ฯลฯ โดยส่วนใหญ่แล้วคนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าข้าวขาวคือข้าวเสาไห้ จริงๆแล้วข้าวเสาไห้ก็คือข้าวชนิดหนึ่งของข้าวขาวนั่นเอง 

-ข้าวเพื่อสุขภาพ ตัวอย่างของข้าวชนิดนี้ก็เช่น ข้าวกล้อง ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวสีนิล ข้าวมันปู ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมนิล ข้าวสังข์หยด ข้าวหอมปทุม ผลิตแนวอินทรีย์100% ซึ่งข้าวพวกนี้จะเป็นข้าวที่ยังไม่ได้ผ่านการขัดสี ข้าวที่ได้จึงยังคงคุณค่าของวิตามินและกากไยไว้สูง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในหมู่คนรักสุขภาพ

อายุของข้าว ผู้ขายจำเป็นที่จะต้องรู้ว่ากลุ่มลูกค้าแบบไหนเหมาะกับข้าวลักษณะไหน ข้าวที่เพิ่งออกและผ่านการเก็บเกี่ยวมาซึ่งเรียกว่าข้าวใหม่ จะมีสีขาวสวย หุงแล้วนิ่ม เหนียว กลิ่นหอม ซึ่งข้าวยิ่งเก่าตามอายุ คุณลักษณะพวกนี้จะค่อยๆหายไป ข้าวชนิดนี้จะเหมาะกับ ร้านข้าวต้ม คนที่ชอบรับประทานข้าวนิ่มๆ มียาง หุงข้าวหม้อเล็ก ส่วนข้าวเก่านั้น จะมีความเคี่ยว ขึ้นหม้อ ไม่แฉะ หุงแล้วได้ปริมาณ เหมาะกับร้านขายข้าวแกง ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ร้านอาหารที่หุงข้าวหม้อใหญ่ และผู้ที่ชอบข้าวเป็นเม็ดๆ 

เวลาในการเก็บเกี่ยวข้าวสาร ในที่นี้เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจจะขอแบ่งเป็นข้าวออกเป็นข้าวนาปี และ ข้าวนาปรัง 
 
-นาปีหรือข้าวนาน้ำฝน คือ ข้าวที่ปลูกในฤดูการทำนาปกติ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมและเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นล่าสุดไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ 

-ข้าวนาปรัง คือ ข้าวที่ปลูกนอกฤดูการทำนาปกติ เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ในบางท้องที่จะเก็บเกี่ยวอย่างช้าที่สุดไม่เกินเดือนเมษายน นิยมปลูกในท้องที่ที่มีการชลประทานดี เช่น ในภาคกลาง 
การที่ท่านรู้ว่าข้าวตัวไหนเป็นข้าวนาปีหรือนาปรัง จะช่วยให้ท่านทราบถึงอายุของข้าว ซึ่งจะทำให้สามารถหาสินค้าที่เหมาะสมที่สุดให้กับลูกค้าท่านได้ 


ข้อแนะนำเพิ่มเติมทั้งนี้ตามที่กล่าวมาทั้งหมด ดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องไม่ง่ายเท่าไรนักสำหรับผู้ที่ริเริ่มเปิดร้านที่จะเข้าใจเรื่องของข้าวสาร จริงๆแล้วการขายข้าวสารก็ไม่ต่างอะไรไปจากการประกอบอาชีพอื่น ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์และเวลาในการเรียนรู้ ในเรื่องนี้ทางร้านขอแนะนำวิธีง่ายๆ เช่นหากท่านไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ท่านอาจเริ่มสังเกตว่าข้าวที่ท่านรับประทานอยู่เป็นข้าวอย่างไร ข้าวเก่า หรือข้าวใหม่ ข้าวพันธุ์อะไร มาจากจังหวัดไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ท่านอาจถามเจ้าของร้านได้ หรือท่านอาจจะลองซื้อข้าวตามร้านขายข้าวสารปลีกมาลองหุงดูครึ่งกิโล เพื่อสังเกตความแตกต่างระหว่างข้าวสารแต่ละชนิดอย่าลืมว่าขายข้าวสารก็เหมือนกับขายสินค้าอื่นที่ต้องให้ความใส่ใจนะคะ

แล้วคุณจะรอช้าอยู่ไย ในเมื่อโอกาสดีๆรออยู่ตรงหน้าแล้ว สนใจมีธุรกิจขายข้าวสารเป็นของตนเอง ปรึกษาเราได้ที่ เว๊ปไซต์หลัก:www.organicricesingburi.blogspot.com 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น